เขาใหญ่ (Khao Yai)

ที่ตั้งและแผนที่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตู้ปณ. 9
ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 08 6092 6527, 08 6092 6529, 08 6092 6531
โทรสาร 0 3735 6037

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายกฤษฎา หอมสุด

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้รับสมญานาม
ว่าเป็น อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน ตลอดจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่า เป็นอุทยานแห่งชาติที่
สำคัญของโลก โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจาก Dr. George C. Ruhle ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน
อุทยานแห่งชาติของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้
ดำเนินการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณป่าเขาใหญ่
ในท้องที่ตำบลป่าขะ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอบ้านนา ตำบลหนองแสง ตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี
ตำบลสาริกา ตำบลหินตั้ง ตำบลพรหมมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ตำบลประจันตคาม อำเภอ
ประจันตคาม ตำบลสัมพันตา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลหมูสี อำเภอ
ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และตำบลมวกเหล็ก ตำบลซำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2502 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 86 ลงวันที่
18 กันยายน 2505 รวมเนื้อที่ 1,355,468.75 ไร่ หรือ 2,168.75 ตารางกิโลเมตร


ต่อมากองทัพอากาศได้มีหนังสือที่ กศ 0379/15739 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ถึง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอกันพื้นที่ก่อสร้างสถานีเรดาร์ และสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคม ออก
จากพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 ลง
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2520 เห็นชอบให้กันพื้นที่ส่วนดังกล่าวได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา เพิกถอน
อุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วน ในท้องที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2521
ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 21 กันยายน 2521 เป็นเนื้อที่
ประมาณ 71 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา หรือ 0.1149 ตารางกิโลเมตร และกรมชลประทาน กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ ขอใช้พื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในท้องที่อำเภอปากพลี และ
อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เนื้อที่ 1,925 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา หรือ 3.0807 ตารางกิโลเมตร เพื่อ
ก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์ในการจัดแหล่งเก็บกัก
น้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูก รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขต
จังหวัดนครนายกเป็นประจำทุกปี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ทำการก่อสร้างโครงการเขื่อนคลอง
ท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่
บางส่วนในท้องที่ตำบลหินลาด อำเภอปากพลี และตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัด
นครนายก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 119ก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 จึง
เป็นผลให้ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 1,353,471.53 ไร่ คิดเป็น 2,165.55 ตาราง
กิโลเมตร

ขนาดพื้นที่
1353471.50 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.1 (ด่านตรวจศาลเจ้าพ่อ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.2 (ผากระดาษ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.3 (ตะเคียนงาม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.5 (กม.80)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.6 (บุพราหมณ์ใน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.7 (ลำพระยาธาร)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.8 (ว่านเหลือง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.9 (ใสใหญ่)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.10 (ประจันตคาม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.11 (คลองเพกา)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.12 (เนินหอม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.13 (นางรอง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.14 (วังรี)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.15 (ชะอม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.16 (มวกเหล็กใน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.17 (กลางดง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.18 (เจ็ดคต)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.19 (ผากล้วยไม้)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.20 (น้ำตกเหวนรก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.21 (เขื่อนคลองท่าด่าน)

ลักษณะภูมิประเทศ

อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วย เทือกเขาสลับซับซ้อนกัน ได้แก่ เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาสูง 1,351 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาได้แก่ เขาแหลม 1,326 เมตร , เขาเขียว 1,292 เมตร , เขาสามยอด 1,142 เมตร และเขาฟ้าผ่า 1,078 เมตร ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชัน


หาดชมตะวัน

อ.เสิงสาง  จ.นครราชสีมา

รายละเอียด

หาดชมตะวัน อยู่ในความรับผิดชอบของที่ทำการเขตจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 4 (ลำปลายมาศ) ซึ่งดูแลรักษาพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติทับลานด้านอำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว พื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำได้รับการพัฒนาให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน และเป็นที่ประกอบอาชีพของชาวบ้านลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำและรับประทานอาหาร รวมทั้งยังชมทิวทัศน์อันสวยงาม หรือพักแค้มปิ้งได้ อาจเช่าเรือหางยาวล่องไปตามลำน้ำ เดินป่าชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น วังผีเสื้อ (มีเฉพาะในฤดูหนาว) ถ้ำพระ ถ้ำคอมมิวนิสต์ ที่มีตัวอักษรเขียนที่ผนังถ้ำว่า “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” และ ต้นตะเคียนทองยักษ์ ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณพันปี ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4444 8386

การเดินทาง จากนครราชสีมาไปอำเภอเสิงสาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 224 ต่อด้วยทางหลวง 2071 และ 2119 ตามลำดับ ระยะทาง 89 กิโลเมตร เมื่อถึงสี่แยกอำเภอเสิงสางเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง 2317 อีกประมาณ 15 กิโลเมตร

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  4,685
Today:  5
PageView/Month:  32

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com