รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

รูปภาพ
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑-๔ ในยามราตรี


• ประวัติของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๓...วัดเก่า ทำใหม่

สำหรับ วัดประจำรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
บางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
แต่จริงๆ แล้ววัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังเท่านั้น
ส่วนวัดประจำรัชกาลที่ ๑ จริงๆ แล้วก็คือ
“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์”
วัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่ตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และพระบรมมหาราชวัง
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่

“วัดโพธิ์” หรือมีนามทางราชการว่า
“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร”
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อว่า “วัดโพธาราม”
เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
แม้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นหลังจากปีพุทธศักราช ๒๒๓๑
ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาต่อกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กอยู่ในเขตตำบลบางกอก ปากน้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี
ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดโพธิ์” มาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้



รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

รูปภาพ
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในยามราตรี


๏ ประวัติของวัดอรุณราชวราราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๓...วัดเก่า ทำใหม่

วัดประจำรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
คือ “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดแจ้ง”

เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๑
ที่ประทับของท่านจะอยู่ที่พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี และวัดที่อยู่ใกล้กับ
พระราชวังเดิมที่สุดก็คือวัดอรุณราชวราราม พระองค์ท่านจึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ และยังได้ทรงลงมือปั้นหุ่นพระพักตร์
“พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก”
พระประธานในพระอุโบสถ ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกด้วย
และเมื่อพระองค์ท่านทรงเสด็จสวรรคต พระบรมอัฐิของพระองค์
ก็ถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามแห่งนี้


วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัดในสมัยโบราณ
ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏมีเพียงว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มีมาก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช ๒๑๙๙-๒๒๓๑)
เพราะมีแผนที่เมืองธนบุรีซึ่ง เรือเอก เดอ ฟอร์บัง (Claude de Forbin)
กับ นายช่าง เดอ ลามาร์ (de Lamare) ชาวฝรั่งเศส
ทำขึ้นไว้เป็นหลักฐานในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช



รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๓
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร

รูปภาพ
ด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสาราม (ด้านริมคลองด่าน)


๏ ประวัติของวัดราชโอรสาราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๓...วัดเก่า ทำใหม่

สำหรับ วัดประจำรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บางคนอาจคิดว่าเป็น วัดราชนัดดาราม ราชวรวิหาร
เนื่องจากมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์
อยู่ตรงบริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ใกล้ๆ กับวัดราชนัดดาราม
แต่จริงๆ แล้ววัดประจำรัชกาลที่ ๓ คือ “วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร”
หรือ “วัดราชโอรสาราม” หรือ “วัดราชโอรส”

วัดราชโอรสาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ
เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เดิมเรียกว่า ‘วัดจอมทอง’ บ้าง ‘วัดเจ้าทอง’ บ้าง หรือ ‘วัดกองทอง’ บ้าง

มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงสถาปนา “วัดราชโอรสาราม” นั้น
สืบเนื่องจากบริเวณนี้เป็นนิวาสสถานของพระประยูรญาติ
ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีของพระองค์ คือ กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย
(เจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๒)
ธิดาของพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) ซึ่งมีจวนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
อันเป็นที่ตั้งวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน กับคุณหญิงเพ็ง
ซึ่งเป็นธิดาของพระยาราชวังสัน (หวัง) บ้านอยู่ข้างวัดหงส์รัตนาราม
และท่านชู ท่านชูนี้เป็นพระปัยยิกา (ยายทวด) ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
กล่าวกันว่าเป็นธิดาของคฤหบดีชาวสวน มีนิวาสสถานอยู่แถววัดหนัง
ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของวัดจอมทอง โดยมีคลองบางหว้าคั่นอยู่บริเวณ
สองฟากคลองด่านและคลองบางหว้า ซึ่งมีวัดอยู่ ๓ วัดคือ วัดจอมทอง
วัดหนัง และวัดนางนอง จึงมีพวกชาวสวนผู้เป็นวงศาคณาญาติของท่านชู
อยู่จำนวนมาก และกล่าวได้ว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นพระประยูรญาติ
ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น



รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

รูปภาพ
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม


• ประวัติของวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๔-๕...สร้างใหม่ด้วยใจศรัทธา

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
และ เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวงของพระมหากษัตริย์

ตามโบราณพระราชประเพณี และทรงรับเข้าอยู่ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ของพระกษัตริย์ทุกพระองค์สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

(ตามธรรมเนียมโบราณพระราชประเพณีนั้นมีว่า
ในราชธานีหรือเมืองหลวงจะต้องมีวัดสำคัญประจำ ๓ วัดด้วยกัน
คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ และวัดราชประดิษฐ์
เช่นที่สุโขทัย สวรรคโลก พิษณุโลก และพระนครศรีอยุธยา

แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม และเปลี่ยนเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์

แต่ต่อมามีพระราชดำริว่า ในกรุงเทพฯ ยังไม่มีวัดมหาธาตุ
จึงเปลี่ยนชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดมหาธาตุ

และพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ ๑ ทรงบูรณะวัดเลียบ ต่อมาได้นามว่า วัดราชบุรณะ

ขณะนั้นกรุงรัตนโกสินทร์ยังขาดอยู่เพียงวัดเดียวคือวัดราชประดิษฐ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
นับได้ว่า วัดราชประดิษฐเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญยิ่ง
พระอารามหนึ่งในพระบรมราชจักรีวงศ์)


รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

รูปภาพ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


• ประวัติของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๔-๕...สร้างใหม่ด้วยใจศรัทธา

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต
ความสำคัญของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแห่งนี้คือเป็น
วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
ซึ่งถือว่าเป็นวัดแห่งเดียวของกรุงรัตนโกสินทร์
ที่เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์


เหนืออื่นใด วัดแห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช
องค์พระประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทย ๒ พระองค์คือ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงครองวัด ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๖๔-๒๔๘๐ และ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงครองวัด ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๗-๒๕๓๑
และเคยเป็นที่พำนักของสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะหลายรูป



รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร

• ประวัติของวัดบวรนิเวศวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๖-๘...ไม่สร้าง แต่บำรุง

ตามพระราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดเสด็จสวรรคต
ก็จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารไปประดิษฐานไว้ที่วัดใดวัดหนึ่ง
อันทรงสร้างหรือทรงเกี่ยวข้อง และถือเป็นวัดประจำรัชกาล

อย่างใดก็ตามในทางนิตินัย วัดประจำรัชกาลได้สิ้นสุดลง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
โดยได้มีพระราชดำริว่า พระอารามหลวงในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมากแล้ว
และการสร้างวัดนั้นก็เพื่อประโยชน์ในทางศึกษาของเยาวชนด้วย
เพราะการศึกษาของไทยแต่โบราณกาลมาก็เริ่มที่วัด
ดังนั้น จึงทรงสถาปนา โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือในปัจจุบันคือ
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขึ้นเพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล
และให้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

การกำหนดว่าวัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘
เพื่ออาราธนาเจ้าอาวาสวัดนั้น มาในงาน
พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน
เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ จึงเป็นการกำหนดโดยทางพฤตินัยเท่านั้น


รูปภาพ
พระสุวรรณเขต (องค์หลัง)-พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) พระประธานในพระอุโบสถ
เบื้องหน้ามีพระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์ประดิษฐานเรียงกันบนฐานชุกชี



รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

รูปภาพ
เสาชิงช้ากับวัดสุทัศนเทพวราราม ความงามที่ยืนอยู่คู่กันมานาน


• ประวัติของวัดสุทัศนเทพวราราม

วัดประจำรัชกาลที่ ๖-๘...ไม่สร้าง แต่บำรุง

ตามพระราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดเสด็จสวรรคต
ก็จะอัญเชิญพระบรมราชสรีรังคารไปประดิษฐานไว้ที่วัดใดวัดหนึ่ง
อันทรงสร้างหรือทรงเกี่ยวข้อง และถือเป็นวัดประจำรัชกาล

อย่างใดก็ตามในทางนิตินัย วัดประจำรัชกาลได้สิ้นสุดลง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
โดยได้มีพระราชดำริว่า พระอารามหลวงในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมากแล้ว
และการสร้างวัดนั้นก็เพื่อประโยชน์ในทางศึกษาของเยาวชนด้วย
เพราะการศึกษาของไทยแต่โบราณกาลมาก็เริ่มที่วัด
ดังนั้น จึงทรงสถาปนา โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือในปัจจุบันคือ
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขึ้นเพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล
และให้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

การกำหนดว่าวัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘
เพื่ออาราธนาเจ้าอาวาสวัดนั้น มาในงาน
พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน
เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ จึงเป็นการกำหนดโดยทางพฤตินัยเท่านั้น


ครั้นมาถึงในสมัยรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ก็ไม่ได้มีการสร้างวัด เพียงแต่บำรุงเท่านั้น เนื่องจากมีช่วงรัชสมัยที่สั้นมาก



รูปภาพ

วัดประจำรัชกาลที่ ๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช


น่าจะเป็นหนึ่งในสามวัด ดังนี้คือ

• วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ
• วัดโสธรวราราม วรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา
• วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร จ.ชลบุรี
รูปภาพ
พระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ


“วัด พระราม ๙ กาญจนาภิเษก” เป็นวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริเริ่มแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน ที่ทรงให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ เริ่มมาจากที่แต่ก่อนนี้ชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ นี้ ต้องประสบกับปัญหาน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งน้ำในคลองนั้นเป็นน้ำที่ไหลมาจากคลองรังสิต ผ่านสะพานใหม่ดอนเมือง บางซื่อ สามเสน และมารวมที่คลองลาดพร้าว ก่อนที่จะไหลลงคลองแสนแสบต่อไป

จน กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการเติมอากาศที่บึงพระราม ๙ ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์คือ ทำการทดสอบการบำบัดน้ำเน่าเสียที่ไหลมาตามคลองลาดพร้าวส่วนหนึ่งให้มีคุณภาพ ดีขึ้น โดยวิธีการเติมอากาศลงไปในน้ำ แล้วปล่อยให้น้ำตกตะกอน และปรับสภาพน้ำก่อนระบายลงสู่คลองตามเดิม จากแนวพระราชดำรินี้เองทำให้ชาวชุมชนริมคลองลาดพร้าวย่านพระราม ๙ มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ต่อมาได้มีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทำการปรับปรุงพื้นที่และพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ และ มีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการจัดตั้งวัดขึ้นในบริเวณชุมชนบึงพระราม ๙ เพื่อเป็นทั้งพุทธสถานในการประกอบกิจของพระสงฆ์ในการสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธ ศาสนา ในขณะเดียวกันก็เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของราษฎรในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนการพัฒนาชุมชนบริเวณบึงพระราม ๙ ร่วมกับทางโรงเรียนหรือส่วนราชการต่างๆ


Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  4,706
Today:  5
PageView/Month:  17

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com